พระราชประวัติผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์สยามรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสวยราชสมบัติ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง (พ.ศ. 2411) รวมสิริดำรงราชสมบัติ 42 ปี 22 วัน เสด็จสวรรคต เมื่อวันเสาร์ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ ปีจอ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) ด้วยโรคพระวักกะ รวมพระชนมพรรษา 57 พรรษา ผู้คนมักออกพระนามว่า "ปิยมหาราช" แปลว่า ราชายิ่งใหญ่ผู้ทรงเป็นที่รัก และว่า "พระพุทธเจ้าหลวง" |
พระราชสมภพ
การศึกษา
เนื้อเรื่องย่อ
ซมพลาเป็นเงาะหนุ่มได้รักนางลำหับ ซึ่งซมพลามีบุญคุณกับลำหับในการช่วยชีวิตตอนที่ไปเที่ยวป่าและโดนงูรัดเลยเกิดรักกัน ตามความเชื่อที่ว่าชายใดแตะเนื้อต้องตัว หญิงถือว่าเป็นสามีของหญิงนั้น แต่ฮเนามาสู่ขอนางลำหับกับตองยิบและนางฮอย ซึ่งเป็นบิดามารดาของลำหับ ทั้งสองตกลงใจให้นางลำหับแต่งงานกับฮเนา ซึ่งมีความเหมาะสมในฐานะ และได้จัดพิธีแต่งงานให้ พวกเงาะมาช่วยงานกันทั้งหมู่บ้าน เมื่อนางลำหับกับฮเนาแต่งงานกัน จะต้องไปเดินป่าตามประเพณี 7 วัน ซมพลาได้ทำอุบายไปลักพาตัวนางลำหับหนีมาอยู่กับตนที่ในถ้ำ ฮเนานึกว่าซมพลาบังคับเอาตัวนางลำหับไปจึงออกติดตามจนพบ ซมพลากับฮเนาได้ต่อสู้กัน รำแก้วซึ่งเป็นพี่ชายของฮเนาได้ใช้ลูกดอกอาบยาพิษเป่าไปถูกซมพลาได้รับบาดเจ็บ นางลำหับไม่เห็นซมพลากลับมา จึงออกไปตามพบซมพลาถูกลูกดอกอาบยาพิษถึงแก่ความตายไปต่อหน้าต่อหน้า ก็เสียใจ นางลำหับรักซมพลามากจึงได้ใช้มีดฆ่าตัวเองตายตามซมพลา ส่วนฮเนาเมื่อได้รู้ว่านางลำหับกับซมพลารักกันและได้เห็นความรักอันเด็ดเดี่ยวของซมพลากับลำหับ และคิดว่าตนเป็นต้นเหตุให้ทั้งสองตาย จึงฆ่าตัวตายตามไปด้วย
|
ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
1.ความรักของหนุ่มสาวนั้นมีอานุภาพรุนแรงที่สุด อาจบันดาลให้ผู้ที่อยู่ในห้วงรักทำอะไรๆเพื่อความรักได้ทั้งนั้นบางครั้งก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมเช่นในเรื่องเงาะป่า แม้ในปัจจุบันนี้ความตายของหนุ่มสาวที่เกิดจากความรักเป็นเหตุก็ยังคงมีอยู่เสมอ ๆ
2. ผู้ใดที่มีความรัก ไม่ว่าจะเป็นความรักประเภทใด ผู้นั้นก็มักจะมีความทุกข์ตามมาด้วยเพราะรักแล้วอาจไม่สมหวัง หรือรักแล้วอาจต้องพลัดพรากกัน (ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์ ความรักเป็นสั่งที่ดีแต่ควรรักอย่างมีสติ)
3. ไม่ว่าในสังคมใด แม้จะป่าเถื่อนเช่นสังคมเงาะ ก็ยกย่องผู้หญิงที่ซื่อสัตย์มั่นคงในความรักเหมือนนางลำหับ แม้ตายไปแล้วก็ยังมีผู้สรรเสริญ เป็นสัจธรรมที่แท้จริงคือความดีเท่านั้นที่คงทนจีรังยั่งยืน ชาวเงาะถึงแม้จะมีรูปชั่วตัวดำหรือมีความอัปลักษณ์แต่เป็นคนที่มีจิตใจดีงามแสดงให้เห็นว่าอย่ามองคนเพียงรูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้น
4. เกี่ยวกับประเพณีการแต่งงานแบบคลุมถุงชนว่าบางครั้งก่อให้เกิดความเดือดร้อนและความทุกข์ทรมาน เพราะคู่บ่าวสาวอาจมีคนรักอยู่แล้วเหมือนนางลำหับในเรื่องนี้ ดังนั้นบิดามารดาจึงไม่ควรบังคับ ควรถามความสมัครใจของทั้งคู่ก่อน
5. ลูกนั้นต้องมีความเคารพรักและแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณเช่นนางลำหับที่ต้องยอมแต่งงานเพราะทดแทนบุญคุณของบิดามารดาทั้งที่ตนไม่เต็มใจ แต่ควรแสดงเหตุผลให้พ่อแม่เข้าใจ และควรไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจทำสิ่งใดลงไป
|
แบบฝึกหัดก่อนเรียน : เงาะป่า
แบบฝึกหัดหลังเรียน : เงาะป่า