๑. ตัวฟัน คือ ส่วนของฟัน ซึ่งงอกขึ้นมาปรากฏในช่องปาก สามารถมองเห็นได้
๒. คอฟัน คือ ส่วนที่ต่อระหว่างตัวฟันและรากฟัน ซึ่งเป็นส่วนของฟันที่มีเหงือกมาสัมผัสอยู่
๓. รากฟัน เป็นส่วนหนึ่งของฟัน ซึ่งฝังอยู่ในกระดูกเบ้ารากฟันของขากรรไกร รากฟันนี้จะยึดต่อกับกระดูกเบ้ารากฟันด้วยเส้นใยยึดต่อที่เรียกว่า เอ็นปริทันต์ (periodontal ligament) เอ็นปริทันต์นี้ทำหน้าที่คล้ายเบาะรองรับและถ่ายทอดแรงบดเคี้ยวจากฟันไปสู่กระดูกขากรรไกร เอ็นปริทันต์ที่อยู่ล้อมรอบรากฟันพร้อมด้วยเส้นโลหิตและเส้นประสาทรวมเรียกว่า เยื่อปริทันต์
ฟันแต่ละซี่ จะมีลักษณะและหน้าที่แตกต่างกันกล่าวคือ
ฟันตัด มีลักษณะแบนและบาง มีขอบหน้าคมทำหน้าที่ตัดหรือกัด
ฟันเขี้ยว มีลักษณะซี่ใหญ่ หนา แข็งแรง มียอดปลายแหลม สำหรับฉีกและดึง
ฟันกรามน้อยและฟันกราม จะมียอดหรือปุ่ม (cusp) หลายปุ่ม สำหรับขบและบดอาหารให้ละเอียดทำหน้าที่คล้ายโม่
ฟันแต่ละชนิดจะมีรากแตกต่างกันออกไป กล่าวคือ ฟันตัดและฟันเขี้ยว จะมีรากเดี่ยว ฟันกรามน้อยจะมีชนิดรากเดี่ยวและรากคู่ ส่วนฟันกรามในขากรรไกรล่างมีรากคู่ แต่ฟันกรามในขากรรไกรบนจะมี ๓ ราก
การแปรงฟัน
การแปรงฟัน เป็นการทำความสะอาดฟันรูปแบบหนึ่ง ปัจจุบันคนส่วนใหญ่โดยใช้ แปรงสีฟัน โดยมี ยาสีฟัน เป็นตัวช่วยในการขัดฟัน เพื่อชำระคราบสกปรกบนผิวฟัน และนิยมแปรงฟันวันละสองครั้ง เช้า และ ก่อนนอน บางคนที่เน้นความสะอาดก็อาจแปรงฟันทุกครั้งหลังอาหาร
วิธีการแปรงฟันที่ถูกต้อง[แก้]
การแปรงฟันด้านข้าง (ทั้งด้านในและด้านนอก) ให้ขนแปรงทำมุม 45 องศากับตัวฟัน โดยสอดขนแปรงเข้าไประหว่างฟันกับเหงือกเล็กน้อย แล้วบิดแปรงจากเหงือกมายังปลายฟัน การทำเช่นนี้จะครอบคลุมด้านหนึ่งของฟันประมาณ 2-3 ซี่ ให้ทำซ้ำประมาณ 15-20 ครั้ง แล้วค่อยเปลี่ยนตำแหน่งต่อไป
การแปรงฟันด้านบดเคี้ยว ตั้งขนแปรงให้ตรงเป็นระนาบเดียวกับด้านบดเคี้ยว แปรงได้ตามสบาย
ควรใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟันหรือบริเวณที่ขนแปรงเข้าไม่ถึง
การดูแลสุขภาพปาก[แก้]
- หลังอาหารควรแปรงฟันหรือบ้วนปาก
- หลักกินอาหารที่เหนียวหนึบควรแปรงฟันและบางครั้งควรใช้ไหมขัดฟัน
- ควรใช้ยาสีฟันในปริมาณที่เหมาะสม
- ควรแปรงฟันให้ถูกวิธี แปรงเหงือกและลิ้นด้วย
- ควรเก็บแปรงสีฟันในที่แห้ง โล่ง โดนแดดได้ยิ่งดี
- เมื่อแปรงสีฟันเปลี่ยนรูปแล้วควรเปลี่นใหม่ จะได้ไม่ต้องเสี่ยงเป็นแผลในปากหรือเจ็บคอบ่อย
แบบฝึกหัดก่อนเรียน :
แบบฝึกหัดหลังเรียน :