ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น
2.3ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น การเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่นจะมีแบบแผนเดียวกัน แต่อัตราการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น แต่ละคนจะแตกต่างกันไปหรืออาจมีความผิดปกติเกิดขึ้นได้ปัจจัยสำคัญที่มีผล ต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่นมีดังนี้ 1.พันธุกรรม พันธุกรรม (heredity) หมายถึง การถ่ายทอดคุณลักษณะจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งโดยถ่ายทอดผ่านทางยีน (gene)ที่อยู่ในโครโมโซม (chromosome) ของพ่อและแม่ การถ่ายทอดทางพันธุกรรมจะเกิดขึ้นเมื่อมีการผสมกันระหว่างเซลล์สืบพันธุ์ของเพศชาย คือ ตัวอสุจิ (sperm) และเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิง คือ ไข่ (ovum) โครโมโซม เพศของพ่อและแม่จะจับคู่กัน จีนที่อยู่ในโครโมโซมจะรวมตัวกัน ลูกจึงได้รับการถ่ายทอดลักษณะต่างๆมาจากพ่อและแม่ ลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ได้แก่ ลักษณะทางกาย เช่น ชนิดกลุ่มเลือด สีผม สีผิว สันัยน์ตา ความสูง และลักษณะทางจิตใจและเชาวน์ปัญญา ได้แก่ ความสามารถทางสติปัญญา ตลอดจนการถ่ายทอดลักษณะความผิดปกติของโรคและความบกพร่องต่างๆที่อาจส่งผลต่อ ร่างกาย สภาพจิตใจ และสติปัญญาของวัยรุ่นได้ เช่น สภาวะปัญญาอ่อน ภาวะเตี้ยแคระ ตาบอดสี ผิวเผือก โรคลมบ้าหมู โรคธาลัสซีเมีย 2. การทำงานของต่อมไร้ท่อ ต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) เป็นต่อมไม่มีท่อที่อยู่ในร่างกาย จะทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน (hormone) ต่างๆ เข้าไปในกระแสเลือดไปสู่อวัยวะเป้าหมาย เพื่อควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆกระตุ้นการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะสมดุล ต่อมไร้ท่อที่มีบทบาทในการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น ได้แก่ ต่อมใต้สมองส่วนหน้า (adrenal gland) โดย แต่ละต่อมดังกล่าวจะผลิตฮอร์โมนที่ทำหน้าที่สำคัญและมีผลต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของวัยรุ่นแตกต่างกันออกไป เช่น โกรทฮอร์โมน (growth hormone)เป็น ฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายให้ปกติ โดยเฉพาะการแบ่งเซลล์ การสังเคราะห์โปรตีน และการเจริญเติบโตของกระดูก ฮอร์โมนในกลุ่มโกนาโดโทรฟิน (gonadotrophin hormone) กระตุ้นการสร้างตัวอสุจิในวัยรุ่นชายและการตกไข่ในวัยรุ่นหญิง ฮอร์โมนไทรอกซิน (thyroxin hormone) ทำหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญอาหารในร่างกาย และฮอร์โมนแอนโดรเจน (androgen hormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีผลต่อการพัฒนาการทางเพศของวัยรุ่นขายมากกว่าวัยรุ่นหญิง 3.พฤติกรรมสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ (health behavior) ตามความหมายของคณะกรรมการสุขศึกษา(2539:23)หมาย ถึง การกระทำหรือการปฏิบัติของบุคคลที่มีผลต่อสุขภาพ ซึ่งเป็นผลจากการเรียนรู้ของบุคคลเป็นสำคัญ โดยแสดงออกให้เห็นได้ในลักษณะของการกระทำและการไม่กระทำในสิ่งที่เป็นผลดี ต่อสุขภาพหรือผลเสียต่อสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์และพฤติกรรมเสี่ยง โดยพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์เป็นพฤติกรรมที่วัยรุ่นปฏิบัติแล้วส่งผลดี ต่อสุขภาพ เช่น การออกกำลังกายสม่าเสมอ รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ส่วนพฤติกรรมเสี่ยงเป็นพฤติกรรมที่ปฏิบัติแล้วก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและ สุขภาพของตัววัยรุ่นเองและผู้อื่น เช่น การดื่มสุราแล้วขับรถยนต์ การเสพสารเสพติด การสำส่อนทางเพศ ดังนั้นพฤติกรรมสุขภาพจึงเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่มีผลต่อการเจริญเติบ โตและพัฒนาการตามวัยของวัยรุ่น กล่าวคือถ้าวัยรุ่นคนใดมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ย่อมมีร่างกายที่แข็งแรง ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตในทางตรงกันข้ามถ้ามีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึง ประสงค์ก็จะเจ็บป่วยหรือเป็นโรค ส่งผลให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก 4.สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อม (environment) หมาย ถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเราและมีผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ สิ่งแวดล้อมจึงมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตและภาวะสุขภาพของวัยรุ่นเป็น อย่างมาก โดยเฉพาะปัจจุบันในเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกได้เกิดปัญหามลพิษสิ่แวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้ผู้คนมีภาพชีวิตที่ด้อยลง ซึ่งวัยรุ่นที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมย่อมมีปัญหาสุขภาพ เจ็บป่วยได้ง่าย จึงอาจทำให้เจริญเติบโตช้ากว่าวัยรุ่นคนอื่นๆในวัยเดียวกันได้ นอกจากนี้ปัจจัยในสิ่งแวดล้อมยังรวมถึงลักษณะการเลี้ยงดูของครอบครัว สภาพสังคมและวัฒนธรรมด้วย โดยวัยรุ่นที่อยู่ในครอบครัวที่อบอุ่น บิดามารดาให้ความเอาใจใส่มาโดยตลอดในช่วงวัยเด็กจนเข้าสู่วัยรุ่นก็จะมี พัฒนาการเป็นไปตามเกณฑ์มาตราฐานและสุขภาพที่ดี อีกทั้งการอยู่อาศัยในสภาพสังคมที่มีความปลอดภัยและมีระบบบริการสาธารณสุข ที่ถูกต้องเหมาะสมแล้วย่อมส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีในวัยรุ่นเช่นเดียวกัน |