|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตัวประกอบของจำนวนนับใดๆ หมายถึง จำนวนนับที่หารจำนวนนับน้ันได้ลงตัว ตัวอย่าง 2 หาร 12 ลงตัว ดังนั้น 2 เป็นตัวประกอบของ 12 4 หาร 24 ลงตัว ดังนั้น 4 เป็นตัวประกอบของ 24 5 หาร 30 ลงตัว ดังนั้น 5 เป็นตัวประกอบของ 30 6 หาร 42 ลงตัว ดังนั้น 6 เป็นตัวประกอบของ 42 7 หาร 55 ไม่ลงตัว ดังนั้น 7 ไม่เป็นตัวประกอบของ 55 8 หาร 65 ไม่ลงตัว ดังนั้น 8 ไม่เป็นตัวประกอบของ 65
การหาตัวประกอบของจำนวนนับ คือ การหาจำนวนนับที่หารจำนวนนับนั้นได้ลงตัว ตัวอย่าง 1 หาร 10 ลงตัว ดังนั้น 1 เป็นตัวประกอบของ 10 2 หาร 10 ลงตัว ดังนั้น 2 เป็นตัวประกอบของ 10 3 หาร 10 ไม่ลงตัว ดังนั้น 3 ไม่เป็นตัวประกอบของ 10 4 หาร 10 ไม่ลงตัว ดังนั้น 4 ไม่เป็นตัวประกอบของ 10 5 หาร 10 ลงตัว ดังนั้น 5 เป็นตัวประกอบของ 10 6 หาร 10 ไม่ลงตัว ดังนั้น 6 ไม่เป็นตัวประกอบของ 10 7 หาร 10 ไม่ลงตัว ดังนั้น 7 ไม่เป็นตัวประกอบของ 10 8 หาร 10 ไม่ลงตัว ดังนั้น 8 ไม่เป็นตัวประกอบของ 10 9 หาร 10 ไม่ลงตัว ดังนั้น 9 ไม่เป็นตัวประกอบของ 10 10 หาร 10 ลงตัว ดังนั้น 10 เป็นตัวประกอบของ 10 จำนวนนับที่หาร 10 ลงตัวได้แก่ 1, 2, 5 และ 10 ดังนั้น 10 มีตัวประกอบสี่ตัว คือ 1, 2, 5 และ 10
จำนวนเฉพาะ คือ จำนวนที่มีตัวประกอบเพียง 2 ตัวเท่านั้น คือ 1 กับจำนวนนับนั้น
จากตาราง แสดงว่า 2, 5, 7 เป็นจำนวนเฉพาะ เพราะมีตัวประกอบ 2 ตัว ตือ 1 กับจำนวนนับ นั้น
ข้อควรระวัง : 1 ไม่ใช่จำนวนเฉพาะ เพราะ 1 มีตัวประกอบเพียงตัวเดียว
ตัวประกอบเฉพาะ คือ ตัวประกอบของจำนวนนับใดที่เป็นจำนวนเฉพาะ การหาตัวประกอบเฉพาะของจำนวนนับใด ๆ นั้น เราจะต้องหาตัวประกอบทั้งหมดของ จำนวนนับนั้น ๆก่อน จากนั้นจึงค่อยพิจารณา ตัวประกอบเหล่านั้นว่า มีจำนวนใดเป็นจำนวนเฉพาะ
บ้าง ซึ่งจำนวนเฉพาะเหล่านั้นเราเรียกว่า ตัวประกอบเฉพาะ
ตัวอย่าง
|
แบบฝึกหัดก่อนเรียน : ตัวประกอบของจำนวนนับ(ก่อนเรียน)
แบบฝึกหัดหลังเรียน : ตัวประกอบของจำนวนนับ(หลังเรียน)